120
133
สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณาให้ความเห็นชอบกิจการที่สำคัญของ อบต. โดยใช้มติที่ประชุมสภาฯ เป็นหลัก มีประธานสภา อบต. ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ อบต
2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบต.
3. ควบคุมการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาท้องถิ่น ข้อบัญญัติ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
มีใครบ้างในสภา อบต. และมีหน้าที่อย่างไร ?
- ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ของสภา อบต.
- เสนอร่างข้อบัญญัติ อบต.
- ตั้งกระทู้ถามนายก อบต. หรือรองนายก อบต. อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่
- เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป นายก อบต. โดยไม่มีการลงมติ ด้วยจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่
- ขอเปิดประชุมวิสามัญด้วยจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
- หน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด หรือฐานะผู้แทนประชาชนในหมู่บ้าน และ อบต. นั้น
(2) ประธานสภา อบต. 1 คน : เลือกจากสมาชิกสภา อบต. ให้นายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภา อบต. ดำรงตำแหน่งจนครบอายุสภา อบต. หรือมีการยุบสภา อบต.
ประธานสภา อบต. มีหน้าที่ดำเนินการประชุมและดำเนินการกิจการอื่นให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
- เป็นประธานของที่ประชุมสภา อบต. เว้นแต่ใขขณะที่เข้ากล่าวอภิปรายสนับสนุนหรือคัดค้านญัตติในที่ประชุมสภา อบต.
- บังคับบัญชาการงานใน อบต.
- รักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต.
- เป็นผู้แทนสภา อบต. ในกิจการภายนอก
- อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือตามกฎหมาย
- กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น
- แจ้งนัดประชุมสภา อบต. ตามคำสั่งของประธานสภา อบต.
- ชี้แจ้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งหรือหนังสือส่งการ หรือ แนวทางปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจการของ อบต. ต่อที่ประชุมสภา อบต.
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. จัดทำระเบียบวาระการประชุมสภา อบต.
- เชิญประธานสภาชั่วคราวปฏิบัติหน้าที่
- จัดทำรายงานการประชุมสภา อบต.
- เก็บรักษาข้อมูลข่าวสาร หรือเอกสารของสภา อบต. แต่จะเปิดเผยได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากประธานสภา อบต.
- ช่วยประธานสภา อบต. ในการควบคุมการนับคะแนนเสียง
- ช่วยเหลือประธานสภา อบต. ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสภา อบต.
- หน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่นหรือกระทำกิจการอื่นตามที่ประธานสภา อบต. มอบหมาย
การปฏิบัติหน้าที่ของสภา อบต.
(1) สมัยประชุมสามัญสภา อบต. : ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย หรือหลายสมัยแล้วแต่สภา อบต. จะกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 4 สมัยๆ ละ ไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ โดย้องกำหนดให้มีการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์สมัยหนึ่งและในเดือนสิงหาคมสมัยหนึ่ง
(2) สมัยประชุมวิสามัญสภา อบต. : นอกจากสมัยประชุมสามัญแล้ว เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ของ อบต. ประธานสภา อบต. นายก อบต. หรือสมาชิกสภา อบต. มีจำนวนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา อบต. ทั้งหมดที่มีอยู่ สามารถทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ถ้าเห็นสมควรให้นายอำเภอเรียกประชุมวิสามัญได้ สมัยประชุมวิสามัญให้กำหนดไม่เกิน 15 วัน แต่ถ้าจะขยายเวลาออกไปอีกจะต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอ
และมีการแต่งตั้ง เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพื่ออำนวยความสะดวกในงานกิจการสภาฯ มีหน้าที่ดังนี้
1. งานธุรการและประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาท้องถิ่น
2. งานระเบียบ ข้อบังคับการประชุมสภาท้องถิ่น
3. การประชุมสภาท้องถิ่น คณะกรรมการสามัญ คณะกรรมการวิสามัญ
4. แจ้งและติดตามผลการปฏิบัติงานตามมติที่ประชุมสภาท้องถิ่น
5. งานเลือกตั้งและงานทะเบียนข้อมูลเลือกตั้ง